IQ Study

ตัวชี้วัดคืออะไร

ในภาษาญี่ปุ่น “Ichimoku” หมายความว่า “ก้อนเมฆ” ตัวชี้วัดชื่อดังนี้สร้างโดย Goichi Hosoda ผู้เชี่ยวชาญด้านการตลาด หลายคนมองว่าตัวชี้วัดนี้เป็นตัวชี้วัดแนวโน้มที่น่าเชื่อถือที่สุดเมื่อเทียบกับประเภทอื่นๆ เช่น ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่

เบื้องต้นตัวชี้วัดนี้อาจดูซับซ้อน เนื่องจากระบบการคำนวณที่ค่อนข้างซับซ้อน แต่เครื่องมือนี้มีประสิทธิภาพและการใช้งานได้หลากหลาย สามารถใช้เป็นตัวชี้วัดแนวโน้ม เพื่อระบุทิศทางแนวโน้มและจุดกลับตัวได้ นอกจากนี้ยังสามารถใช้กำหนดแนวรับและแนวต้านสำหรับสินทรัพย์ได้อีกด้วย ตัวชี้วัด Ichimoku คือพื้นฐานที่ยอดเยี่ยมสำหรับทุกกลยุทธ์ โดยเฉพาะการสามารถใช้ตามลำพังเพื่อเป็นเครื่องมือสำหรับการวิเคราะห์ทางเทคนิค

เส้น Conversion (Tenkan-sen) และเส้น Standard (Kijun-sen)

Ichimoku Cloud ประกอบด้วย 5 เส้น เส้นแรกคือ เส้น Conversion (Tenkan-sen) (9 ช่วงเวลา) และเส้น Standard (Kijun-sen) (26 ช่วงเวลา) ที่ทำหน้าที่เป็นแนวรับและแนวต้านไดนามิก

ในภาพหน้าจอด้านบนจะเห็นการตัดกันสองประเภทระหว่างสองเส้น โดยปกติแล้วจุดตัดของเส้น Conversion (สีฟ้า) ที่เร็วกว่ากับเส้น Standard (สีแดง) จะให้สัญญาณไบแอสแนวโน้มขาขึ้น หรือการกลับตัว ขณะที่สิ่งตรงกันข้ามบ่งบอกถึงไบแอสแนวโน้มขาลง หรือการกลับตัว

เส้น Conversion (Tenkan-sen) คำนวณจาก (9-period high + 9-period low) / 2

เส้น Standard (Kijun-sen) คำนวณจาก (26-period high + 26-period low) / 2

เส้นConversion ตัดกับเส้นStandard จะให้สัญญาณไบแอสแนวโน้มขาขึ้นหรือการกลับตัวขณะที่สิ่งตรงกันข้ามบ่งบอกถึงไบแอสแนวโน้มขาลงหรือการกลับตัว

ก้อนเมฆ: Cloud Line 1(Senkou Span A) และ Cloud Line 2 (Senkou Span B)

ถัดไปคือก้อนเมฆ ก้อนเมฆประกอบด้วย 2 เส้นที่ชื่อว่า เส้น Cloud Line 1 (Senkou Span A) และเส้น Cloud Line 2 (Senkou Span B) ทั้งสองเส้นพล็อตด้วย 26 ช่วงเวลาในอนาคต หมายความว่าการพล็อตเส้นถูกย้อนหลังไป 26 ช่วงเวลาของแท่งเทียนล่าสุด

วิธีการอ่านสัญญาณ โดยปกติแล้วหาก Cloud Line 1 อยู่เหนือ Cloud Line 2 ก้อนเมฆสีเขียวจะบ่งบอกถึงไบแอสขาขึ้น ขณะที่เหตุการณ์ตรงกันข้ามของก้อนเมฆสีแดงกำลังบ่งบอกถึงไบแอสขาลง

Cloud Line 1 (Senkou Span A) คำนวณจาก (Tenkan-sen + Kijun-sen) / 2

Cloud Line 2 (Senkou Span B) คำนวณจาก (52-period high + 52-period low) / 2

เส้นCloud Line 1(Senkou Span A) อยู่เหนือCloud Line 2(Senkou Span B) บ่งบอกถึงไบแอสขาขึ้นขณะที่เหตุการณ์ตรงกันข้ามบ่งบอกถึงไบแอสขาลง

Lagging Line (Chikou Span)

สุดท้ายแต่ไม่ท้ายสุด Lagging Line (Chikou Span) เป็นเรื่องแปลกที่มีความเข้าใจผิดมากมายเกี่ยวกับเรื่องนี้ นักลงทุนจำนวนมากไม่รู้ว่ามันคืออะไรและจะใช้อย่างไร การเข้าใจวิธีใช้งานเส้นนี้คือสิ่งสำคัญสำหรับการเทรดที่มีความเป็นไปได้สูงขึ้น

เส้นนี้จะติดตามราคาปิดของแต่ละช่วงเวลาแต่ถูกย้อนหลังไป 26 ช่วงเวลา สาระสำคัญคือ Lagging Line (Chikou Span) คือกราฟเส้นที่ย้อนกลับไป 26 ช่วงเวลา

โดยปกติแล้วเมื่อ Lagging Line ตัดต่ำกว่าการเคลื่อนไหวของราคาในอดีต โอกาสที่จะเกิดแนวโน้มขาลง หรือการกลับตัวจะเพิ่มขึ้น ในเหตุการณ์ตรงกันข้าม การตัดเหนือการเคลื่อนไหวของราคาในอดีต โอกาสที่จะเกิดแนวโน้มขาขึ้น หรือการกลับตัวจะเพิ่มขึ้น

Lagging Line (Chikou Span) เหนือการเคลื่อนไหวของราคาในอดีตบ่งบอกถึงไบแอสขาขึ้นขณะที่เหตุการณ์ตรงกันข้ามบ่งบอกถึงไบแอสขาลง

วิธีการใช้งาน 3 เงื่อนไขเพิ่มความน่าจะเป็น

ตัวชี้วัด Ichimoku ถือว่าให้สัญญาณซื้อขายที่น่าเชื่อถืออย่างมีเหตุผล ซึ่งต่างจากตัวชี้วัดอื่นๆ ตัวชี้วัด Ichimoku สามารถให้การยืนยันหลายครั้ง ซึ่งเพิ่มความน่าจะเป็นสำหรับสัญญาณซื้อหรือขาย นั่นคือเหตุผลที่ได้กล่าวไว้ก่อนหน้านี้ นักเทรดสามารถใช้ตัวชี้วัดนี้อย่างเดียว ในขณะที่ตัวชี้วัดส่วนใหญ่ทำงานได้ดีที่สุดเมื่อผสมผสานกับตัวชี้วัดอื่นๆ

นี่คือการยืนยัน 3 แบบสำหรับสัญญาณซื้อ/ขาย:

1. ราคาขาขึ้นปิดนอกก้อนเมฆ

เงื่อนไขแรกที่สำคัญที่สุดสำหรับสัญญาณซื้อคือ แท่งเทียนขาขึ้นที่ปิดเหนือและนอกก้อนเมฆเป็นครั้งแรก ราคาทะลุกรอบดังกล่าวสามารถถือเป็นสัญญาณได้ว่าราคาจะมีการเคลื่อนไหวขึ้นต่อไป

สำหรับสัญญาณขาย แท่งเทียนขาลงควรปิดนอกและต่ำกว่าก้อนเมฆเป็นครั้งแรก

2. ราคาอยู่เหนือเส้น Conversion (Tenkan-sen) และเส้น Standard (Kijun-sen)

เงื่อนไขที่สองต้องให้แท่งเทียนขาขึ้นปิดเหนือทั้ง Conversion Line และ Standard Line นอกจากนั้น Conversion Line ควรตัดเหนือ Standard Line

สำหรับสัญญาณขาย แท่งเทียนขาลงจะปิดต่ำกว่าทั้ง Conversion Line และ Standard Line นอกจากนั้น Conversion Line ควรตัดต่ำกว่า Standard Line

3. Bullish Lagging Line (Chikou Span) ตัดพฤติกรรมของราคาในอดีต

สุดท้ายแต่ไม่ท้ายสุด เพื่อความเป็นไปได้ที่เพิ่มขึ้นของสัญญาณซื้อ Lagging Line ควรตัดเหนือการเคลื่อนไหวของราคาในอดีต

เช่นเดียวกับสัญญาณขาย Lagging Line ควรตัดต่ำกว่าการเคลื่อนไหวของราคาในอดีต

การตั้งค่า

ในการตั้งค่าตัวชี้วัด Ichimoku นักเทรดต้องใส่ใจส่วนต่างๆ สีของแต่ละเส้น ตลอดจนช่วงเวลา

ส่วนการตั้งค่าตัวชี้วัดบนแพลตฟอร์ม IQ Option สามารถหาได้ที่ส่วน “แนวโน้ม” ของเมนูตัวชี้วัด

ตรวจสอบให้แน่ใจว่าได้ตั้งค่าตัวชี้วัดเป็น “ค่าเริ่มต้น” หรือเปลี่ยนการตั้งค่าให้สอดคล้องกับกลยุทธ์ของคุณ

ตอนนี้คุณพร้อมที่จะใช้ตัวชี้วัด Ichimoku ในการเทรดแล้ว! อย่าลืมมองหาสัญญาณอย่างใกล้ชิดจะได้พลาดโอกาสดีๆ ขอให้โชคดี!

เทรดตอนนี้